วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษาซี


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษาซี
ภาษาซีเป็นภาษาที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มนักเขียนโปรแกรม  จนมีการพัฒนาภาษาซี   ให้เป็นภาษาที่มีความสามารถสูงและสะดวกในการใช้คำสั่งต่าง ๆ  เพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมง่ายต่อการใช้ภาษาซีในการเขียนโปรแกรมที่มีสมรรถนะสูง  อันเป็นองค์ประกอบหลักของพัฒนาโปรแกรม          
                ในบทนี้จะกล่าวถึงเรื่องของประวัติความเป็นมาของภาษาคอมพิวเตอร์  ระดับของภาษา  องค์ประกอบของภาษาซี  เพื่อให้มีความเข้าใจพื้นฐานในเรื่องของภาษาซี  ขั้นตอนและหลักการต่าง ๆ เกี่ยวกับภาษาซี




1.1  วิวัฒนาการของภาษา C
                ภาษา C พัฒนาโดย Dennis Ritchie แห่งห้องปฏิบัติการ Bell Laboratories ในปี ค.ศ 1972 พัฒนาเพื่อใช้งานบนระบบปฏิบัติการ Unix  ซึ่งมีลำดับการพัฒนาดังนี้
                ภาษา Algol (ปี 1960 : ใช้คำนวณ) à ภาษา CPL (ปี 1963) à ภาษา BCPL (ปี 1967) àภาษา B (ปี 1970) à ภาษา C (ปี 1972) à ภาษา C++ (ปี 1990) à ภาษา Java, C#, Visual C++

ภาษาคอมพิวเตอร์             
                การทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์  เป็นการติดต่อสารระหว่างมนุษย์กับเครื่องคอมพิวเตอร์  นั่นคือการสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานหรือเป็นการโต้ตอบระหว่างมนุษย์กับเครื่องคอมพิวเตอร์  การที่จะพูดจากับคอมพิวเตอร์ได้ต้องอาศัยภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ ภาษาคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันถูกพัฒนามาจากภาษา คอมพิวเตอร์ในยุคต้น ๆ  ตามแนวความคิดของผู้ประดิษฐ์ภาษาเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  โดยถูกสร้างขึ้นมาตามวัตถุประสงค์และความแตกต่างของการใช้งาน  เช่นงานเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร  งานคำนวณทางด้านคณิตศาสตร์  งานด้านการบัญชี  งานด้านกราฟิก  และงานเขียนรายงานทางด้านเอกสารเป็นต้น ภาษา คอมพิวเตอร์ที่ดีควรเป็นภาษาที่เขียนง่ายเข้าใจง่าย  มีขนาดเล็กมีความรวดเร็วและความถูกต้องสูง  มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง  หมายความว่ามีข้อจำกัดต่ำ  สามารถที่จะประยุกต์ใช้งานได้กว้างขวาง 
                ระดับของภาษาคอมพิวเตอร์
1.             ภาษาระดับต่ำ (Low-level Language)  เช่น  ภาษาเครื่อง (machine code) และภาษา Assembly
2.             ภาษาระดับกลาง (Middle-level Language) เช่น  ภาษา C
3.             ภาษาระดับสูง (High-level Language) เช่น Fortran, Cobol, Pascal, Vissual Basic, Java

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น